วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5




การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 Language Experiences Management for Early Childhood
   ภาคเรียนที่ 1/2559 กลุ่ม 101  วันพฤหัสบดี 13:30-17:30น.
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5
                        วันพฤหัสบดีที่  15 กันยายน  พ.ศ.  2559

กิจกรรม/ความรู้ที่ได้รับ
                       ก่อนเริ่มเรียนมีการร้องเพลงเหมือนครั้งที่แล้ว จากนั้นก็เป็นการฝึกสอนคำคล้องจองของแต่ละกลุ่มจากครั้งที่แล้วที่เราได้แต่งคำคล้องจองไว้ และมีการเล่นเกมจิตวิทยา "รถไฟเหาะในชีวิต" ทำให้ก่อนการเรียนสนุกสนานขึน เรื่องที่เรียนวันนี้คือ แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เรียนรู้ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาธรรมชาติและได้รู้หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ การสอนภาษาธรรมชาติ จะไมเข้มงวดกับการสะกดคำ การท่อง ไม่บังคับให้เด็กเขียน สอดแทรกการฝึกทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมๆกับกิจกรรม
















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                      -นำการสอนภาษาธรรมชาติไปใช้กับเด็กได้ เป็นการสอนที่ ไม่ได้บังคับให้เด็กเขียนอ่าน แต่จะมีกิจกรรมที่สอดแทรกการฝึกทักษะเป็นการสอนแบบบูรณาการ


การประเมิน

                       ประเมินตัวเอง:วันนี้สนุกกับเนื้อหาที่เรียนเพราะทันสมัยและในเนื้อหาจะมีกิจกรรมเล็กๆน้อยๆทำให้ไม่น่าเบื่อ

                       ประเมินเพื่อน:เพื่อนตั้งใจเรียนในสวนของเนื้อหาไปพร้อมๆกับกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา

                      ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนไปพร้อมกับยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ทำให้มีความเข้าใจมาก และมีกิจกรรมมมาให้ได้เล่นเรื่อยๆ






วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4





การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 Language Experiences Management for Early Childhood
   ภาคเรียนที่ 1/2559 กลุ่ม 101  วันพฤหัสบดี 13:30-17:30น.
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4
                        วันพฤหัสบดีที่  8 กันยายน  พ.ศ.  2559

กิจกรรม/ความรู้ที่ได้รับ
            
                         วันนี้เราเริ่มต้นด้วยการร้องเพลง อาจารย์มีเนื้อเพลงมาให้ใหม่ ทำนองสนุกกว่าอันเดิม จากนั้นครูก็พาเราเล่นเกมทายใจ เป็นจิตวิทยาของญี่ปุ่น  ชอบเกมนี้มากเพราะตรงกับความเป็นจริงเลย และเชื่อว่าเพื่อนอีีกหลายคนจะชอบมาก  ต่อมาเราเริ่มเรียนคำคล้องจอง โดยใช้ภาพแทนคำนั้นๆ หรื่ออาจจะใช้ทั้งภาพและคำ  ในการเขียนคำคล้องจองจะง่ายต่อการอ่านของเด็กอนุบาล เพราะบางทีเด็กอาจจะยังอ่านไม่ออก  แต่สามารถอ่านได้จากภาพ อาจารย์ให้แบ่งเป็กกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แต่งคำคล้องจองตามหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้ และกลุ่มฉันได้ "ชบา" พอเสร็จแล้วเอาออกมาโชว์หน้าห้อง โดยอาทิตย์ต่อไปจะต้องเอาออกมาสอนให้เพื่อนๆและอาจารย์ดูในอาทิตย์ถัดไป


แค่ชาร์ทก็น่าเรียนละ



บอกเค้าสิ ฉันก็ช่วยนะ 55555


นี่ไง" ชบา " กลุ่มเราเอง



อยู่ในช่วง ปล่อยของ มีดีต้องโชว์




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                   -เราสามารถนำเพลงที่ครูนำมาให้ร้อง ไปร้องให้เด็กฟังได้ทำให้เด็กเกิดการสนุกสนานก่อนการเรียนรู้ และบางเพลงสามารถนำไปเก็บเด็กได้ด้วย
                      -เราสามารถนำทักษะการเขียนคำคล้องจองไปเขียนในเรื่องต่างๆที่เด็กอยากเรียนรู้ได้ เพราะง่ายต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย


การประเมิน

                       ประเมินตนเอง: วันนี้ชอบการเล่นเกมทายใจที่เป็นจิตวิทยาของญี่ปุ่นมาก เพราะมาเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วสนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนในส่วนของเนื้อหามากขึ้น

                       ประเมินเพื่อน:เพื่อนดูสนุกสนานกับเกมทายใจที่เป็นจิตวิทยาของญี่ปุ่น ทุกคนดูสนุกสนานร่าเริงขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด การทำงานกลุ่ม แต่ละกลุ่มร่วมมือในการทำงานกันเป็นอย่างดี

                       ประเมินอาจารย์:อาจารย์ได้เดินให้คำปรึกษาแต่ละกลุ่ม และเอื้อเฟื้ออุปกรณ์ดีมากๆ พร้อมทั้งมีตัวอย่างมาให้ดู ทำให้ง่ายต่อการเขียนคำคล้องจองขึ้นมาพอสมควร







วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3




การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 Language Experiences Management for Early Childhood
   ภาคเรียนที่ 1/2559 กลุ่ม 101  วันพฤหัสบดี 13:30-17:30น.
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
                        วันพฤหัสบดีที่  1  กันยายน  พ.ศ.  2559
กิจกรรม/ความรู้ที่ได้รับ
                      วันนี้อาจารย์ได้ตรวจบล็อกของทุกคน  แล้วเราเริ่มทบทวนเพลงจากครั้งที่แล้วที่เราได้ร้องไป  เพื่อนสนุกสนานเพราะช่วยผ่อนคลายความเครียดลงได้บ้าง จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน วันนี้เราเรียนกันเรื่อง แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย ได้รูแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านเช่น skinner , vygotsky เป็นต้น มีกิจกรรมมาคั่นการเรียนรู้นั่นคือการพูดประโยคที่ลิ้นพันกันเช่น กลางขาวอยูกลางเข้า หยิบขวานขว้างกวางขาว เป็นต้น จากนั้นครูก็ให้ทำกิกรรม ให้วาด"ของที่เรารัก" แล้วก็สมมุติบทบาทเป็นครู ให้เขียนตามที่เด็กบรรยายว่าเด็วาดภาพอะไร ต่อจากนั้นก็เป็นการเขียนประวัติตัวเองอักขระแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม


        
ก่อน
หลัง


อุปกรณ์ของเรา


ของที่ฉันรักไงล่ะ







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                  -นำแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้เรียน ไปใช้พัฒนาภาษาในแต่ละวัยของเด็กให้มีการพัฒนาไปตามช่วงอายุ
                  -การเขียนบรรยายใต้รูปวาดของเด็กหากเราเป็นครูเราก็จะนำเทคนิกที่อาจารย์สอนไปใช้ได้ในอนาคต
                 -การเขียนอักขระแบบหัวกลมตัวเหลี่ยวเราสามารถนำไปใช้ขึ้นกระดานเวลาสอนหนังสือเด็กได้


การประเมิน
                     ประเมินตนเอง:  วันนี้เรียนสนุกและหัวเราะไปกับกิจกรรมบ้าง  ไม่ตึงเครียดกับเนื้อหา เพราะอาจารย์มีกิจกรรมมาคั่น

                     ประเมินเพื่อน: เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมดีมาก อีกทั้งยังตั้งใจเรียนในส่วนของทฤษฎี

                     ประเมินอาจารย์:  อาจารย์สอนได้ดีมาก มีการนำทักษะที่ใช้ได้จริงมาสอน และมีการให้ลงมือทำในการสอนจะมีกิจกรรมมาคั่นเพื่อความผ่อนคลาย ทำให้นักศึกษาไม่ตึงเครียดและเรียนสนุกสนาน ได้ความรู้

เชื่อยังว่าทุกคนมีความสุข